ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม

ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

            ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 5 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ผู้ใช้ และกระบวนการ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับองค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่นำเสนอในบทที่ 1 เรื่องระบบสารสนเทศ ทั้งนี้เนื่องจากระบบสารสนเทศในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อจัดการกับข้อมูลเป็นหลักนั่นเอง

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 

            ฮาร์ดแวร์ คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ด้วย ฮาร์ดแวร์มีหลายประเภท ทำหน้าที่แตกต่างกันตามระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ในหน่วยการเรียนรู้นี้ จะนำเสนอตัวอย่างของฮาร์ดแวร์ที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน

                          แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard) ทำหน้าที่รับข้อมูลตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ด้วยการกดที่แป้นพิมพ์ ภายในจะมีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแปลงตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ที่กดลงไปเป็นรหัสหรือข้อมูลดิจิทัล มีตำแหน่งของแป้นพิมพ์เรียงกันเหมือนเครื่องพิมพ์ดีด

                         เมาส์ (Mouse) เป็นฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่รับข้อมูล ด้วยการควบคุมตัวชี้ตำแหน่งหรือเคอร์เซอร์ (Curser) บนจอภาพ โดยจะรับข้อมูลผ่านคำสั่งคลิก ดับเบิลคลิก คลิกขวา และแดรก (Drag)

                        สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่ได้จากการแปลงค่าแสงที่ตกกระทบวัตถุให้เป็นสัญญาณดิจิทัลที่แสดงผลออกมาในรูปแบบของไฟล์รูปภาพภายในคอมพิวเตอร์

                        กล้องวีดีโอ (Video Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทภาพเครื่องไหว ซึ่งจะบันทึกข้อมูลลงในหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง มีน้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก สามารถดูไฟล์ภาพเคลื่อนไหวได้จากจอภาพที่ตัวกล้อง

                        การ์ดเครือข่าย (Network Card) หรือ การ์ดแลน (LAN Card) ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับฮาร์ดแวร์อื่นๆ หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันในระบบเครือข่าย

                        เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งแผงวงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน เช่น ซีพียู แรม การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง

                        ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นฮาร์ดแวร์สำหรับบันทึกข้อมูลหลักที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าสื่อบันทึกอื่นๆ มีหลักการทำงานเหมือนกับแผ่นดิสก์เกตต์ คือ การอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็ก

                        เครื่องอ่านซีดี/ดีวีดี (CD/DVD Drive) ใช้สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยซีดีหรือดีวีดี มีหลักการทำงานด้วยการบันทึกข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก

                        จอภาพ (Monitor) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แสดงผล เพื่อสื่อสารกับผู้ใช้เป็นหลัก ปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ จอภาพวีจีเอ แบบพลาสมา แลจอภาพแบบสัมผัส

                        ลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียง

                        เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยแสดงผล ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูลในรูปแบบสิ่งพิมพ์

                        ยูเอสบีแฟรสไดรฟ์ (USB Flash Drive) ทำหน้าที่จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบันทึกข้อมูลสำรองที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน เนื่องจากมีรูปแบบที่สวยงาม น้ำหนักเบา พกพาสะดวก

                        เคส (Case) เป็นกล่องเหล็กหรือพลาสติกแข็ง ใช้สำหรับติดตั้งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด เครื่องจ่ายไฟ เครื่องอ่านเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดี การ์ด เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ (Software)

            ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 

            1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการทางด้านอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การดูแล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ เป็นต้น
          ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานเพียงงานเดียวในเวลาหนึ่ง เช่น ซีพีเอ็ม เอ็มเอสดอส พีซีดอส แอปเปิ้ลดอส และระบบปฏิบัติการที่ทำงานพร้อม ๆ กันหลายๆ งานในเวลาเดียวกันเรียกว่าระบบหลายภารกิจ (multitasking system) เช่น โอเอสทู วินโดวส์ 95 

                             1. ซีพีเอ็ม (Control Program/Microcomputer : CP/M)

                                         ซีพีเอ็ม (Control Program/Microcomputer : CP/M) จัดเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรก ๆที่นำมาใช้งานกับเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ขนาด 8 บิต ซึ่งปัจจุบันนี้ล้ำสมัยแล้ว หลังจากเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ได้ขยายมาเป็นเครื่องขนาด 16 บิต ก็ได้มีการเขียนระบบ ปฏิบัติการขึ้นใหม่ คือ เอ็มเอสดอส (Microsoft Disk Operating System : MS-DOS) พีซีดอส (Personal Computer Disk Operating System : PC-DOS) ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสนี้ได้รับความนิยมนำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับพีซี 

                             2. เอ็มเอสดอส

                                         เอ็มเอสดอส มีรากฐานมาจากระบบปฏิบัติการซีพีเอ็ม โดยการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้งานกับไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลอินเทล ขนาด 16 บิต เบอร์ 8088 ขึ้นใหม่ที่ยังคงรูปแบบลักษณะคำสั่งคล้ายของเดิม เมื่อมีการปรับปรุงเพิ่มขยายในเวลาต่อมาเป็นรุ่น 2.0 จึงได้มีการพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นอีกมากมาย โดยในรุ่น 2.0 นี้จะมีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายคลึงกับคำสั่งในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยเฉพาะด้านการจัดการข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่จัดเป็นโครงสร้างต้นไม้ของการ แบ่งระบบแฟ้มเป็นระบบย่อย 

                             3. ระบบปฎิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ 95

                                        ระบบปฏิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ 95 ถือเป็นระบบ ปฏิบัติการที่ออกแบบและสร้างมาใช้กับเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ ตระกูลพีเอสทูของบริษัทไอบีเอ็มจำกัดเป็นระบบปฏิบัติการที่นำมาชดเชยขีดจากัดของเอ็มเอสดอสเดิม ด้วยการเพิ่มลักษณะพิเศษของการทำงานหลายงานพร้อมกัน เทคนิคการเรียกใช้คำสั่งเป็นเมนูและสัญรูป (icon)

                            4. ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์

                                        ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาและออกแบบสำหรับงานด้านวิชาการและประยุกต์ใช้ทางด้านวิทยาศาสตร์ บนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ แต่ในภายหลังก็ได้ปรับปรุงไปใช้บนเครื่องเกือบทุกระดับ รวมถึงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบใหญ่และซับซ้อนสามารถให้ผู้ใช้หลายรายทำงานหลายงานพร้อมกัน อย่างไรก็ตามจะมีขีดจำกัดที่หน่วยความจำของระบบ 

                2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลังซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น การทำงานใด ๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำเป็นต้องทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น

            ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังแบ่งแยกออกเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะและซอฟต์แวร์สำเร็จ

                            1) ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนตามความต้องการของผู้ใช้หรือเฉพาะงานใดงานหนึ่ง ผู้เขียนต้องเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับงานจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร ซอฟต์แวร์งานธนาคาร

                            2) ซอฟต์แวร์สำเร็จ เป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไปผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงานซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
ผู้ใช้

            ผู้ใช้ คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้งาน โต้ตอบ ควบคุม และดูแลคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ที่ดีควรมีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ผู้ใช้สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ 5 ประเภท คือ ผู้ใช้งานตามบ้าน ผู้ใช้งานตามสานักงานขนาดเล็กผู้ใช้งานที่ต้องการความคล่องตัว ผู้ใช้งานตามสำนักงานใหญ่ และผู้ใช้งานสมรรถนะสูง
ข้อมูล
      ข้อมูลในที่นี้จะมีความหมายรวมถึงข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล และสารสนเทศที่เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เมื่อนำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แล้วจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลหรือสัญญาณดิจิทัล โดยมีชนิดของข้อมูล รูปแบบของแฟ้มข้อมูล และประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนี้

      ชนิดของข้อมูล ข้อมูลจะถูกเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ ได้แก่ บิต ตัวอักษร เขตข้อมูลหรือฟิลด์ ระเบียนข้อมูล แฟ้มข้อมูล และฐานข้อมูล ข้อมูลแต่ละบิตจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเองซึ่งสามารถแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะได้ดังนี้
                        1. เลขจำนวนเต็ม (Integer) 

                        2. ค่าตรรกะ (Boolean or Logical) 

                        3. ตัวอักษร (Character) 

                        4. สายอักขระ (String) 

                        5. เลขจำนวนจริง (Floating-Point Number) 

                        6. วันและเวลา (Date/Time) 

                        7. ไบนารี (Binary) 

กระบวนการ 
                  คือ ขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของผู้ใช้กระบวนการทำงานที่ดีจะต้องเกิดจากผู้ใช้มีความรู้ ความสามารถในการใช้งาน ข้อมูลมีความถูกต้องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ